เทคโนโลยีรถไฟฟ้าใต้ดินของเมืองไทย
เทคโนโลยี หรือ ประยุกตวิทยา หรือ เทคนิควิทยา มีความหมายค่อนข้างกว้าง โดยทั่วไปหมายถึง การนำความรู้ทางธรรมชาติวิทยาและต่อเนื่องมาถึงวิทยาศาสตร์ มาเป็นวิธีการปฏิบัติและประยุกต์ใช้เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ อันก่อให้เกิดวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร แม้กระทั่งองค์ความรู้นามธรรมเช่น ระบบหรือกระบวนการต่าง ๆ เพื่อให้การดำรงชีวิตของมนุษย์ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น
เทคโนโลยีก่อเกิดผลกระทบต่อสังคมและในพื้นที่ที่มีเทคโนโลยีเข้าไปเกี่ยวข้องในหลายรูปแบบ
เทคโนโลยีได้ช่วยให้สังคมหลาย ๆ แห่งเกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจมากขึ้นซึ่งรวมทั้งเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน
ในหลาย ๆ ขั้นตอนของการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีได้ก่อให้ผลผลิตที่ไม่ต้องการ
หรือเรียกว่ามลภาวะ เกิดการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติและเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีหลาย ๆ
อย่างที่ถูกนำมาใช้มีผลต่อค่านิยมและวัฒนธรรมของสังคม
เมื่อมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ เกิดขึ้นก็มักจะถูกตั้งคำถามทางจริยธรรม
รถไฟฟ้าใต้ดินสายแรกของเมืองไทย หรือรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ที่กำลังจะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2547 จะสามารถช่วยทำให้การเดินทางในกรุงเทพฯ มีความคล่องตัวและสะดวกสบายมากขึ้นเนื่องจากเส้นทางเดินรถไฟฟ้าใต้ดินนี้เป็นเส้นทางที่มีการจราจรหนาแน่นพอสมควร เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการเดินทางของคนกรุงเทพฯ ความเป็นมาของโครงการ การให้บริการ รายละเอียดคร่าวๆ ทางเทคนิค และความปลอดภัยเป็นอย่างไร ท่านผู้อ่านจะได้ทราบจากเนื้อหาต่อไปนี้
ความเป็นมาของโครงการ
ระยะที่ 1 เป็นช่วงเวลาตั้งแต่ลงนามในสัญญาสัมปทานจนกระทั่งรถไฟฟ้าใต้ดินพร้อมเปิดให้บริการ โดย ผู้รับสัมปทานมีหน้าที่ออกแบบ ผลิต จัดหา ติดตั้ง ทดสอบ และทดลองใช้งานอุปกรณ์งานระบบร่วมกับโครงสร้างพื้นฐานทางโยธาของ รฟม.
ระยะที่ 2 เป็นช่วงเวลาตั้งแต่การให้บริการ และบำรุงรักษาระบบรถไฟฟ้าใต้ดินเป็นเวลา 25 ปี ตั้งแต่เริ่มเปิด ให้บริการจนกระทั่งสิ้นสุด และจะต้องนำโครงสร้างพื้นฐานโยธาและงานระบบทั้งหมดที่ตนเองจัดหาคืนให้กับ รฟม.
โดย BMCL ได้ทำการว่าจ้างบริษัท SIEMENS เป็นผู้ รับเหมา ในลักษณะการจ้างแบบเบ็ดเสร็จ โดยเป็นผู้ดำเนินการ ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ ผลิต ติดตั้ง ไปจนกระทั่งทำให้ระบบมีความพร้อมที่จะใช้งาน รวมถึงอบรมพนักงานให้มีความพร้อมในการให้บริการได้ด้วย และ BMCL ยังได้ให้บริษัท SIEMENS เป็นผู้บำรุงรักษาอุปกรณ์งานระบบอีก เป็นระยะเวลา 10 ปี อุปกรณ์งานระบบที่บริษัท SIEMENS เป็นผู้ดำเนินการจัดหา มีดังนี้
รถไฟฟ้า (Rolling Stock)
ประตูกั้นชานชาลา (Platform Screen Doors)
ระบบจัดเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ (Automatic Fare Collection)
เวลาให้บริการ
ระยะเวลารอรถไฟฟ้าแต่ละขบวน
ความสามารถในการขนส่ง
โครงสร้างสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน (Station)
อุโมงค์ (Tunnels)
ศูนย์ซ่อมบำรุง (Depot)
สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ในระบบรถไฟฟ้าใต้ดิน
ลิฟต์และบันไดเลื่อน
ในระบบรถไฟฟ้าใต้ดินนี้ได้จัดเตรียมลิฟต์และ บันไดเลื่อนไว้เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสารทั้งผู้พิการ และบุคคลทั่วไปในสถานีทุกสถานี โดยมีลิฟต์ 62 ตัว บันไดเลื่อน 254 ตัว ทั้งระบบบันไดเลื่อนที่ใช้เป็นแบบ Multi-Drive
รถไฟฟ้าใต้ดินสายแรกของเมืองไทย หรือรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ที่กำลังจะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2547 จะสามารถช่วยทำให้การเดินทางในกรุงเทพฯ มีความคล่องตัวและสะดวกสบายมากขึ้นเนื่องจากเส้นทางเดินรถไฟฟ้าใต้ดินนี้เป็นเส้นทางที่มีการจราจรหนาแน่นพอสมควร เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการเดินทางของคนกรุงเทพฯ ความเป็นมาของโครงการ การให้บริการ รายละเอียดคร่าวๆ ทางเทคนิค และความปลอดภัยเป็นอย่างไร ท่านผู้อ่านจะได้ทราบจากเนื้อหาต่อไปนี้
ความเป็นมาของโครงการ
โครงการนี้เป็นการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐบาลกับเอกชน
โดยภาครัฐเป็นผู้ลงทุนก่อสร้าง “โครงสร้างพื้นฐานทางโยธา”
(Civil Infrastructure) และภาคเอกชนในฐานะผู้รับสัมปทานเป็นผู้ลงทุนอุปกรณ์งานระบบ
(M&E Equipment) พร้อมกับทำการบำรุงรักษาระบบรถไฟฟ้าใต้ดินเป็นเวลา
25 ปี นับตั้งแต่วันแรกที่เปิดให้บริการ
จนกระทั่งสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน และจะส่งคืนโครงสร้างพื้นฐาน
ทางโยธาพร้อมกับอุปกรณ์งานระบบทั้งหมดให้กับการรถไฟฟ้าแห่งประเทศไทย (รฟม.)
ในโครงการนี้มีทั้งหมด 5 สัญญางานก่อสร้าง กับ 1 สัญญาสัมปทาน รวมเป็น 6
สัญญาคือ
สัญญาที่ 1 งานออกแบบและก่อสร้างอุโมงค์และสถานีส่วนใต้
คือตั้งแต่สถานีหัวลำโพงถึงสถานีพระราม 9 รวม 9 สถานี เป็นงานอุโมงค์เชื่อมต่อระหว่างสถานี
อุโมงค์ส่วนแยกเข้าสู่ศูนย์ซ่อมบำรุง และปล่องระบายอากาศระหว่างสถานีสามแห่ง
สัญญาที่ 2 งานออกแบบและก่อสร้างอุโมงค์และสถานีส่วนเหนือ
ตั้งแต่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยถึงสถานีบางซื่อ รวม 9 สถานี เป็นงานในลักษณะเดียวกันกับส่วนใต้
ต่างกันตรงที่มีปล่องระบายอากาศระหว่างสถานี 5 แห่ง
สัญญาที่ 3 งานออกแบบก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุง
เป็นการก่อสร้างลานคอนกรีตเพื่อใช้เป็นลานจอดรถไฟฟ้า ยกระดับสูงจากพื้นดินประมาณสองเมตร
สัญญาที่ 4 งานออกแบบจัดหาและติดตั้งระบบราง
เป็นสัญญาติดตั้งและวางรางรถไฟฟ้าทั้งรางวิ่งและรางจ่าย กระแสไฟฟ้า ทั้งส่วนเหนือ
ส่วนใต้และศูนย์ซ่อมบำรุง
สัญญาที่ 5 งานออกแบบจัดหาและติดตั้งลิฟต์ และบันไดเลื่อน
สัญญาที่ 6 “สัญญาโครงการระบบรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล”
เป็นสัญญาสัมปทานให้เอกชนเป็นผู้ ลงทุนและบริการเดินรถ ดำเนินการโดย
BMCL (Bangkok Metro Company Limited) โดยแบ่งเป็นสองระยะ
คือ
ระยะที่ 1 เป็นช่วงเวลาตั้งแต่ลงนามในสัญญาสัมปทานจนกระทั่งรถไฟฟ้าใต้ดินพร้อมเปิดให้บริการ โดย ผู้รับสัมปทานมีหน้าที่ออกแบบ ผลิต จัดหา ติดตั้ง ทดสอบ และทดลองใช้งานอุปกรณ์งานระบบร่วมกับโครงสร้างพื้นฐานทางโยธาของ รฟม.
ระยะที่ 2 เป็นช่วงเวลาตั้งแต่การให้บริการ และบำรุงรักษาระบบรถไฟฟ้าใต้ดินเป็นเวลา 25 ปี ตั้งแต่เริ่มเปิด ให้บริการจนกระทั่งสิ้นสุด และจะต้องนำโครงสร้างพื้นฐานโยธาและงานระบบทั้งหมดที่ตนเองจัดหาคืนให้กับ รฟม.
โดย BMCL ได้ทำการว่าจ้างบริษัท SIEMENS เป็นผู้ รับเหมา ในลักษณะการจ้างแบบเบ็ดเสร็จ โดยเป็นผู้ดำเนินการ ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ ผลิต ติดตั้ง ไปจนกระทั่งทำให้ระบบมีความพร้อมที่จะใช้งาน รวมถึงอบรมพนักงานให้มีความพร้อมในการให้บริการได้ด้วย และ BMCL ยังได้ให้บริษัท SIEMENS เป็นผู้บำรุงรักษาอุปกรณ์งานระบบอีก เป็นระยะเวลา 10 ปี อุปกรณ์งานระบบที่บริษัท SIEMENS เป็นผู้ดำเนินการจัดหา มีดังนี้
รถไฟฟ้า (Rolling Stock)
ตัวรถเป็นของประเทศเยอรมนี
ตัวถังทำด้วย สเตนเลสส์ ที่นั่งวางตามแนวของตัวรถ ความเร็วสูงสุดที่ใช้คือ 80 กม./ชม. ในช่วงแรกของการให้บริการจะใช้รถไฟฟ้าแบบ
สามตู้ขบวน ซึ่งประกอบด้วย ตู้ขับเคลื่อนสองตู้ คือด้านหัว และท้ายขบวน
ตู้กลางเป็นตู้โดยสาร ไม่มีมอเตอร์ขับเคลื่อน มีความยาวทั้งหมดประมาณ 65 เมตร บรรทุกผู้โดยสารได้ ประมาณ 950 คน
ระบบไฟฟ้าของโครงการฯ (Power Supply)
จัดสร้างสถานีไฟฟ้าย่อยประธาน
สถานีพร้อมอุปกรณ์ไฟฟ้า เพื่อจ่ายไฟให้กับระบบขับเคลื่อนรถไฟฟ้า
ตลอดจนระบบไฟในสถานีและอุโมงค์ โดยรับไฟจากการไฟฟ้านครหลวง สองแห่ง คือ
สถานีไฟฟ้าย่อยรัชดาและสถานีไฟฟ้าย่อยบางกะปิ
เข้าสู่สถานีไฟฟ้าย่อยประธานของระบบรถไฟฟ้า บริเวณศูนย์ซ่อมบำรุง
เพื่อจ่ายไฟให้แก่สถานีส่วนเหนือ ส่วนใต้บริเวณศูนย์ซ่อมบำรุง ตามลำดับ
ถึงแม้ว่าเกิดไฟฟ้าดับจากสถานีย่อยของการไฟฟ้านครหลวงหนึ่งสถานี สถานี ไฟฟ้าย่อยที่เหลือก็ยังสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับระบบ
ทั้งหมดได้ โดยไม่มีผลกระทบต่อการให้บริการ และยังมี
เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรองที่ศูนย์ซ่อมบำรุงทดแทน
เพื่อจ่ายให้กับอุปกรณ์สำคัญในสถานี ในกรณีไฟฟ้าจาก กฟน. ดับ ทั้งสองสถานีย่อย
อุปกรณ์ในระบบไฟฟ้า
เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรองสำหรับไฟฟ้าดับ
สถานนีกำเนิดไฟฟ้าประธรรมของไฟฟ้า
ระบบอาณัติสัญญาณ (Signalling)
ระบบอาณัติสัญญาณเป็นหัวใจสำคัญประการหนึ่ง
ของการจัดการควบคุมและดูแลระบบเดินรถ โดยจะมีศูนย์ ควบคุมการปฏิบัติการ
ซึ่งเปรียบเสมือนสมองของระบบ ตั้งอยู่ บริเวณศูนย์ซ่อมบำรุง (Depot) ทั้งนี้การเดินรถไฟฟ้าใต้ดิน
เป็นระบบอัตโนมัติควบคุมการทำงานด้วยคอมพิวเตอร์
โดยพนักงานควบคุมรถจะทำหน้าที่หลักในขณะขับรถไฟฟ้าเพียง สองประการคือ
กดปุ่มบังคับให้ประตูกั้นชานชาลาและประตูรถไฟปิด
และกดปุ่มบังคับให้รถเริ่มเคลื่อนตัวออกจากสถานี
ระบบสื่อสาร (Communication)
ระบบสื่อสารถือเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งเนื่องจากเป็นส่วนที่สร้างให้เกิดความปลอดภัย
และทำให้การเดินรถเป็นไปด้วยความถูกต้องแม่นยำ ดังในระบบรถไฟฟ้ามีการสื่อสารต่างๆ
คือ ระบบประกาศข้อมูลข่าวสารในสถานี ระบบโทรทัศน์วงจรปิด ระบบนาฬิกาหลัก
ระบบโทรศัพท์ ระบบวิทยุสื่อสาร ระบบโทรทัศน์วงจรปิดจากรางไปยังรถไฟฟ้า เครือข่าย
สื่อสารหลัก
ประตูกั้นชานชาลา (Platform Screen Doors)
เพื่อเพิ่มความปลอดภัยแก่ผู้โดยสารเพื่อมิให้ตกลงไปในบริเวณทางวิ่ง
และเป็นการประหยัดพลังงานของระบบ ปรับอากาศไม่ให้เข้าไปในอุโมงค์
ได้มีการติดตั้งประตูกั้น ชานชาลา เป็นลักษณะกำแพงกระจกใส
สูงจากพื้นจรดเพดานตลอดความยาวของชานชาลา โดยประตูนี้จะเปิดพร้อมๆ กับ ประตูรถไฟ
เมื่อรถไฟจอดคลาดเคลื่อนจากจุดจอดไม่เกิน ฑ30 เซนติเมตร (ถ้าเกินประตูจะไม่เปิด)
และพนักงานควบคุมรถจะเป็นคนกดปุ่มปิดประตูรถไฟและประตูกั้นชานชาลาก็จะปิดไปพร้อมๆ กัน
ในกรณีที่มีสิ่งกีดขวางที่ประตูกั้นชานชาลาหรือประตูรถไฟ ประตูจะหยุดการทำงาน
ผู้โดยสารสามารถผลักบานประตูออกจากกันได้
จากนั้นช่วงระยะเวลาหนึ่งประตูจะปิดเองอีกโดยอัตโนมัติ
ประตูจะทำงานแบบนี้ได้สามครั้ง ถ้าสิ่งกีดขวางยังคงอยู่ประตูจะหยุดการทำงาน
และจะต้องมีการตรวจและแก้ไขที่จุดนั้นให้เรียบร้อยก่อน
รถไฟจึงจะสามารถออกจากสถานีได้
ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสารจากการโดนประตูหนีบ
ระบบจัดเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ (Automatic Fare Collection)
ในโครงการนี้ใช้บัตรโดยสารสองประเภทคือ
เหรียญโดยสาร ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าเหรียญ 10 บาทเล็กน้อย ใช้เดินทางเที่ยวเดียว และบัตรเติมเงิน
มีลักษณะคล้ายและขนาดเท่ากับบัตร ATM สำหรับผู้โดยสารที่เดินทางเป็นประจำ
โดยบัตรเติมเงินสามารถออกได้ที่ห้องออกบัตรโดยสารเท่านั้น
ส่วนเหรียญโดยสารออกได้ที่ห้องออกบัตรโดยสารและเครื่องออกเหรียญโดยสารอัตโนมัติ
เหรียญโดยสาร (Single Journey
Smart Token) และบัตรเติมเงิน (Stored Value Smart Card)
เครื่องออกเหรียญโดยสารอัตโนมัตินี้
รับเงินได้ทั้ง แบบเหรียญและธนบัตร ทำงานโดยระบบ Touch
Screen ในการบอกข้อมูลค่าโดยสาร สำหรับการเข้าใช้บริการรถไฟฟ้าผ่านประตูอัตโนมัตินั้นไม่จำเป็นต้องสอดบัตรหรือเหรียญโดยสาร
เพียงแต่นำบัตรหรือเหรียญโดยสารเข้าไปให้ใกล้กับเครื่องอ่านบัตรที่ประตูอัตโนมัติเพื่อเข้าในระบบ
ไม่เกิน 10 ซ.ม. ประตูจะเปิดออกโดยอัตโนมัติ เรียกระบบนี้ว่า
Contactless System และเมื่อต้องการออกจากระบบก็ทำเช่นเดียวกัน
แต่สำหรับเหรียญโดยสารต้องหยอดเหรียญ กลับคืนลงไปในช่องรับเหรียญ
ประตูอัติโนมัติ
เส้นทางการเดินรถไฟฟ้าใต้ดิน
เริ่มจากถนนพระราม 4 บริเวณสถานีรถไฟหัวลำโพงไปตามแนวถนนผ่านสถานีสามย่าน
สถานีลุมพินี สถานีคลองเตย สถานีศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ผ่านแยกอโศก
เข้าสู่สถานีสุขุมวิท สถานีเพชรบุรี สถานีพระราม 9 สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
สถานีห้วยขวาง สถานีสุทธิสาร สถานีรัชดาภิเษก สถานีลาดพร้าว สถานีพหลโยธิน
สถานีสวนจตุจักร สถานีกำแพงเพชร และสุดท้ายที่สถานีบางซื่อ บริเวณสถานีรถไฟบางซื่อ
รวมทั้งสิ้น 18 สถานี
สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินทั้ง 18 สถานี
ระยะทางเดินรถไฟฟ้าทั้งสิ้นประมาณ 20 กิโลเมตร
โดยแต่ละสถานีอยู่ห่างกันประมาณหนึ่งกิโลเมตร
และในตัวสถานีจะมีความยาวเฉลี่ยประมาณ 200 เมตร
กว้างเฉลี่ยประมาณ 23 เมตร ความลึกเฉลี่ยถึงชานชาลารถไฟฟ้า 18
เมตร โดยแต่ละสถานีมีสถานที่ตั้ง ดังรายละเอียด ต่อไปนี้
1. สถานีหัวลำโพง
อยู่ที่หัวถนนพระราม 4 บริเวณจุดตัดหัวถนนรองเมือง
และถนนมหาพฤฒาราม หน้าสถานีรถไฟหัวลำโพง
2. สถานีสามย่าน
อยู่ตามแนวถนนพระราม 4 บริเวณทางแยกถนนพญาไท
และถนนสี่พระยากับถนน พระราม 4 หน้าวัดหัวลำโพง
3. สถานีสีลม
อยู่ตามแนวถนนพระราม 4 ปากทางแยกถนนสีลม
ใต้สะพานลอยไทย-ญี่ปุ่น หน้าโรงแรมดุสิตธานี
4. สถานีลุมพินี
อยู่ตามแนวถนนพระราม 4 บริเวณ สี่แยกพระราม 4-วิทยุ/สาทร ตรงข้ามโรงเรียนเตรียมทหาร (เดิม) บริเวณสะพานลอยไทย-เบลเยี่ยม
5. สถานีคลองเตย
อยู่ตามแนวถนนพระราม 4 บริเวณสำนักงานการไฟฟ้านครหลวงคลองเตย
6. สถานีศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
อยู่ตาม แนวถนนรัชดาภิเษก ตรงข้ามศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
ข้างซอยไผ่สิงห์โต
7. สถานีสุขุมวิท
อยู่ตามแนวถนนอโศก-สุขุมวิท หน้าตลาดอโศก
8. สถานีเพชรบุรี
อยู่ตามแนวถนนอโศก กลางสี่แยกอโศก-เพชรบุรี ใกล้สถานทูตญี่ปุ่น
9. สถานีพระราม 9 อยู่ตามแนวถนนรัชดาภิเษก บริเวณสี่แยกพระราม 9
หน้าอาคารฟอร์จูนทาวน์
10.
สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
อยู่ตาม แนวถนนรัชดาภิเษก หน้าอาคารไทยประกันชีวิต
11.
สถานีห้วยขวาง
อยู่ตามแนวถนนรัชดาภิเษก กลางสี่แยกห้วยขวาง
12.
สถานีสุทธิสาร อยู่ตามแนวถนนรัชดาภิเษก
บริเวณกลางสี่แยกสุทธิสาร
13.
สถานีรัชดาภิเษก
อยู่ตามแนวถนนรัชดาภิเษก บริเวณหน้าอาคารปลาทองกะรัต
14.
สถานีลาดพร้าว
อยู่ตามแนวถนนลาดพร้าว บริเวณลาดพร้าว ซอย 21
15.
สถานีพหลโยธิน
อยู่บริเวณสามแยก ปากทางถนนลาดพร้าว ใกล้ตลาดสด
16.
สถานีสวนจตุจักร
อยู่ตามแนวถนนพหลโยธิน ในสวนจตุจักร ตรงข้ามสถานีขนส่งสายเหนือ เดิม
17.
สถานีกำแพงเพชร
อยู่ตรงข้ามองค์การตลาดเพื่อการเกษตร (อตก.) บริเวณหน้าตลาดนัดจตุจักร
18.
สถานีบางซื่อ
อยู่บริเวณสถานีรถไฟบางซื่อ ใกล้กับ โรงปูนซิเมนต์ไทย
เวลาให้บริการ
เปิดให้บริการทุกวันไม่เว้นวันหยุด
ตั้งแต่เวลา 05.00 - 24.00 น.
ระยะเวลารอรถไฟฟ้าแต่ละขบวน
ได้มีการกำหนดระยะเวลาห่างแต่ละขบวนตามเวลา
ในแต่ละวัน ดังนี้
เวลา
|
ระยะห่างแต่ละขบวน (นาที)
|
จำนวนรถไฟ (ขบวน)
|
05:00 - 06:00
|
6:45
|
10
|
06:00 - 09:00
|
3:45
|
18
|
09:00 - 16:30
|
5:00
|
14
|
16:30 - 19:30
|
3:45
|
18
|
19:30 - 24:00
|
6:45
|
10
|
ความสามารถในการขนส่ง
สามารถให้บริการขนส่งผู้โดยสารได้สูงสุด
12,000 คน/ชม./ทิศทาง ในระยะเริ่มต้นสำหรับรถไฟสามตู้
โครงสร้างสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน (Station)
สถานีเป็นโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก
มีชั้นต่างๆ จากชั้นบนสู่ชั้นล่าง ดังนี้
1. ชั้นร้านค้าปลีก (Retail
Area Level) เป็นชั้นแรก ของสถานี เป็นส่วนของทางเข้า-ออก
จะมีอยู่เฉพาะบางสถานีเท่านั้น
2. ชั้นออกบัตรโดยสาร (Concourse
Level) เป็นชั้นที่ 2 ถัดจากร้านค้าปลีก
เป็นชั้นสำหรับออกบัตรโดยสารและตรวจบัตรด้วยระบบประตูอัตโนมัติ เพื่อเข้าและออก จากการใช้บริการรถไฟฟ้า
ซึ่งจะมีแผนภูมิการเดินรถแสดง อยู่ด้วย ยกเว้นสถานีศูนย์วัฒนธรรมฯ
เป็นชั้นเดียวกับชั้น ร้านค้าปลีก
เนื่องจากใช้พื้นที่สำหรับส่วนต่อโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม
3. ชั้นชานชาลา (Platform
Level) เป็นชั้นล่างสุดของสถานี สำหรับจอดเทียบรับ-ส่งผู้โดยสาร
โดยชานชาลาจะมีรูปแบบแตกต่างกันอยู่สามแบบ ดังนี้
3.1 ชานชาลาตรงกลาง (Central
Platform) เป็นรูปแบบชานชาลาที่มีจำนวนมากที่สุดของ โครงการฯ ผู้โดยสารสามารถขึ้นรถไฟฟ้าได้สอง
ทิศทาง ทั้งไปทางด้านเหนือ หมายถึงสถานีปลายทางบางซื่อ
และไปทางด้านใต้หมายถึงปลายทางสถานี หัวลำโพง โดยใช้ชานชาลาร่วมกันอยู่ตรงกลาง
3.2 ชานชาลาด้านข้าง
(Side Platform) เป็นชานชาลาที่แยกกัน ทำให้
ผู้โดยสารที่จะไปเส้นทางด้าน เหนือหรือใต้จะต้องไปขึ้นที่ชานชาลาฝั่งนั้นๆ
กล่าวคือชานชาลาจะแยกกันโดยมีรถไฟวิ่งอยู่ตรงกลาง เมื่อ ต้องการไปทางด้านเหนือหรือทางด้านใต้ต้องไปที่ชานชาลานั้นๆ
โดยใช้ลิฟต์หรือบันไดเลื่อนหากต้องการข้ามฝั่ง ชานชาลา รูปแบบนี้มีอยู่สองสถานีคือ
สถานีคลองเตย และสถานีบางซื่อ
3.3 ชานชาลาซ้อน (Stack
Platform) เป็น ชานชาลาที่ก่อสร้างใน บริเวณที่มีพื้นที่จำกัด
ไม่สามารถก่อสร้างแผ่ขยายออกไปด้านข้างได้ คือสถานีสามย่าน สถานีสีลม
และสถานีลุมพินี ทำให้สถานี ทั้งสามนี้มีความลึกมากกว่าสถานีอื่น
ผู้โดยสารที่ต้องการโดยสารรถไฟไปทางด้านเหนือจะต้องขึ้นที่ชานชาลาด้านบน
แต่ถ้าต้องการโดยสารไปทางใต้ จะต้องลงไปยังชานชาลา ด้านล่าง
อุโมงค์ (Tunnels)
ใช้อุโมงค์เดี่ยวสองอุโมงค์
สำหรับการเดินรถไฟฟ้าระหว่างสถานี (เดินรถอุโมงค์ละหนึ่งทิศทาง) ดังรูปที่ 7 อุโมงค์
รถไฟฟ้าเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กมีขนาดในการก่อสร้าง ดังนี้
เส้นผ่าศูนย์กลางภายใน
|
5.7
|
ม.
|
ความหนา
|
30
|
ซม.
|
เส้นผ่าศูนย์กลางภายนอก
|
6.3
|
ม.
|
รางรถไฟฟ้า (Rail/Tracks)
รางเป็นแบบรางคู่ตามมาตรฐาน UIC 54 ซึ่งมีขนาดความกว้าง 1435 มม.
ในช่วงทางตรง และกว้าง 1438-1441 มม. ในช่วงทางโค้ง
สำหรับรถไฟฟ้าใต้ดินใช้รางจ่ายกระแสไฟฟ้าหรือรางที่ 3 (Third Rail) เพื่อจ่ายกระแสไฟฟ้า โดยวิ่งคู่ขนานไปกับรางตลอดเส้นทาง ยกเว้นในช่วง
จุดสับราง รางนั้นมีความแตกต่างกันในส่วนของเส้นทางหลัก (อุโมงค์) กับเส้นทางในศูนย์ซ่อมบำรุง
โดยรางในเส้นทางวิ่งหลัก จะใช้วิธียึดรางโดยตรงเข้ากับฐานรางซึ่งทำด้วยคอนกรีต
เสริมเหล็ก (Direct Fixation) ดังรูปที่ 8 เพื่อประสิทธิภาพในการเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วของรถไฟฟ้าและความนุ่มนวลของการโดยสาร
ส่วนในศูนย์ซ่อมบำรุงนั้นใช้หมอนรองรางทั้งแบบคอนกรีตและไม้
เช่นเดียวกับระบบรางของการรถไฟ
แห่งประเทศไทยเพื่อให้สะดวกในการเคลื่อนย้ายและบำรุงรักษา
ศูนย์ซ่อมบำรุง (Depot)
ใช้พื้นที่ประมาณ 300 ไร่ บริเวณห้วยขวาง ระหว่างถนนพระราม 9 กับถนนเทียมร่วมมิตร เพื่อใช้เป็นศูนย์ ซ่อมบำรุง ซึ่งประกอบด้วย อาคารโรงซ่อมบำรุงหลัก
อาคารศูนย์ควบคุมการปฏิบัติการ พื้นที่จอดรถไฟฟ้า โรงซ่อมบำรุงทางวิ่ง
และอาคารบริหารของบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (BMCL)
สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ในระบบรถไฟฟ้าใต้ดิน
ลิฟต์และบันไดเลื่อน
ในระบบรถไฟฟ้าใต้ดินนี้ได้จัดเตรียมลิฟต์และ บันไดเลื่อนไว้เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสารทั้งผู้พิการ และบุคคลทั่วไปในสถานีทุกสถานี โดยมีลิฟต์ 62 ตัว บันไดเลื่อน 254 ตัว ทั้งระบบบันไดเลื่อนที่ใช้เป็นแบบ Multi-Drive
ระบบปรับอากาศในสถานี
มีระบบปรับอากาศทุกชั้นของสถานีทุกแห่ง โดยกำหนดอุณหภูมิชั้น ร้านค้าปลีก ไว้ที่ 25 ํC และชั้นออกบัตรโดยสารกับชั้น ชานชาลา ที่ 29 ํC
มีระบบปรับอากาศทุกชั้นของสถานีทุกแห่ง โดยกำหนดอุณหภูมิชั้น ร้านค้าปลีก ไว้ที่ 25 ํC และชั้นออกบัตรโดยสารกับชั้น ชานชาลา ที่ 29 ํC
ห้องน้ำสาธารณะ
เพื่อความสะดวกสบายของผู้โดยสาร ได้มีการ จัดเตรียมห้องน้ำไว้ให้บริการทุกสถานี
เพื่อความสะดวกสบายของผู้โดยสาร ได้มีการ จัดเตรียมห้องน้ำไว้ให้บริการทุกสถานี
อาคารจอดและจร
มีการก่อสร้างอาคารจอดรถขนาด 2,200 คัน สูง 9
ชั้น อยู่บริเวณลาดพร้าว ไว้บริการผู้ใช้รถไฟฟ้าใต้ดิน โดยสามารถเดินเชื่อมเข้าสู่สถานีลาดพร้าวได้โดยตรง
และชั้นล่างของอาคารยังมีร้านค้าปลีกไว้บริการผู้โดยสารอีกด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น