เทคโนโลยีรถไฟฟ้าใต้ดินของเมืองไทย
เทคโนโลยี หรือ ประยุกตวิทยา หรือ เทคนิควิทยา มีความหมายค่อนข้างกว้าง โดยทั่วไปหมายถึง การนำความรู้ทางธรรมชาติวิทยาและต่อเนื่องมาถึงวิทยาศาสตร์ มาเป็นวิธีการปฏิบัติและประยุกต์ใช้เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ อันก่อให้เกิดวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร แม้กระทั่งองค์ความรู้นามธรรมเช่น ระบบหรือกระบวนการต่าง ๆ เพื่อให้การดำรงชีวิตของมนุษย์ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น
เทคโนโลยีก่อเกิดผลกระทบต่อสังคมและในพื้นที่ที่มีเทคโนโลยีเข้าไปเกี่ยวข้องในหลายรูปแบบ
เทคโนโลยีได้ช่วยให้สังคมหลาย ๆ แห่งเกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจมากขึ้นซึ่งรวมทั้งเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน
ในหลาย ๆ ขั้นตอนของการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีได้ก่อให้ผลผลิตที่ไม่ต้องการ
หรือเรียกว่ามลภาวะ เกิดการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติและเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีหลาย ๆ
อย่างที่ถูกนำมาใช้มีผลต่อค่านิยมและวัฒนธรรมของสังคม
เมื่อมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ เกิดขึ้นก็มักจะถูกตั้งคำถามทางจริยธรรม
รถไฟฟ้าใต้ดินสายแรกของเมืองไทย หรือรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ที่กำลังจะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2547 จะสามารถช่วยทำให้การเดินทางในกรุงเทพฯ มีความคล่องตัวและสะดวกสบายมากขึ้นเนื่องจากเส้นทางเดินรถไฟฟ้าใต้ดินนี้เป็นเส้นทางที่มีการจราจรหนาแน่นพอสมควร เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการเดินทางของคนกรุงเทพฯ ความเป็นมาของโครงการ การให้บริการ รายละเอียดคร่าวๆ ทางเทคนิค และความปลอดภัยเป็นอย่างไร ท่านผู้อ่านจะได้ทราบจากเนื้อหาต่อไปนี้
ความเป็นมาของโครงการ
รถไฟฟ้าใต้ดินสายแรกของเมืองไทย หรือรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ที่กำลังจะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2547 จะสามารถช่วยทำให้การเดินทางในกรุงเทพฯ มีความคล่องตัวและสะดวกสบายมากขึ้นเนื่องจากเส้นทางเดินรถไฟฟ้าใต้ดินนี้เป็นเส้นทางที่มีการจราจรหนาแน่นพอสมควร เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการเดินทางของคนกรุงเทพฯ ความเป็นมาของโครงการ การให้บริการ รายละเอียดคร่าวๆ ทางเทคนิค และความปลอดภัยเป็นอย่างไร ท่านผู้อ่านจะได้ทราบจากเนื้อหาต่อไปนี้
ความเป็นมาของโครงการ
โครงการนี้เป็นการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐบาลกับเอกชน
โดยภาครัฐเป็นผู้ลงทุนก่อสร้าง “โครงสร้างพื้นฐานทางโยธา”
(Civil Infrastructure) และภาคเอกชนในฐานะผู้รับสัมปทานเป็นผู้ลงทุนอุปกรณ์งานระบบ
(M&E Equipment) พร้อมกับทำการบำรุงรักษาระบบรถไฟฟ้าใต้ดินเป็นเวลา
25 ปี นับตั้งแต่วันแรกที่เปิดให้บริการ
จนกระทั่งสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน และจะส่งคืนโครงสร้างพื้นฐาน
ทางโยธาพร้อมกับอุปกรณ์งานระบบทั้งหมดให้กับการรถไฟฟ้าแห่งประเทศไทย (รฟม.)